วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

                ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่ายที่ออนไลน์และส่งข่าวสารถึงกันย่อมมีผู้ที่มีความ ประพฤติไม่ดีปะปนและสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นอยู่เสมอ หลายเครือข่ายจึงได้ออกกฎเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตนยึดถือ ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และได้รับประโยชน์สูงสุด ดังนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องเข้าใจกฎเกณฑ์ข้อ บังคับของ เครือข่ายนั้นมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่นและจะต้อง รับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายบนระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเรียกเข้ามิได้เป็นเพียงเครือ ข่ายขององค์กรที่ผู้ใช้สังกัด แต่เป็นการเชื่อมโยงของเครือข่ายต่างๆ เข้าหากันหลายพันหลายหมื่นเครือข่ายมีข้อมูลข่าวสารอยู่ระหว่างเครือข่าย เป็นจำนวนมาก การส่งข่าวสารในเครือข่ายนั้นอาจทำให้ข่าวสารกระจายเดินทางไปยังเครือข่าย อื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากหรือแม้แต่การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่งก็อาจจะ ต้องเดินทางผ่านเครือข่ายอีกหลายเครือข่ายกว่าจะถึงปลายทาง ดังนั้นผู้ใช้บริการต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาปริมาณข้อมูลข่าวสาร ที่วิ่งอยู่บนเครือข่ายการใช้งานอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้ สังคมอินเทอร์เน็ตน่าใช้และเป็นประโยชน์ร่วมกันอย่างดี กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยงเช่นการส่งกระจายข่าวไป เป็นจำนวนมากบนเครือข่าย การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลเสียโดยรวมต่อผู้ใช้และไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อสังคมอินเทอร์เน็ต เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข

จรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เป็นบทการปฏิบัติเพื่อเตือนความจำ

จรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เป็นบทการปฏิบัติเพื่อเตือนความจำ

1.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
2.   ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3.   ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
4.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6.   ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7.   ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8.   ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9.   ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ
10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกามารยาท 

วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

จริยธรรมในสังคมสารสนเทศ


จริยธรรมในสังคมสารสนเทศ

จริยธรรมในสังคมสารสนเทศ (Ethics in an information society) เป็นเรื่องเกี่ยวกับทางเลือกของบุคคล  เมื่อต้องเผชิญในการปฏิบัติ  ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าอะไรเป็นทางเลือกที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
                แนวคิดพื้นฐาน
ความรับผิดชอบ  ภาระหน้าที่  และภาระผูกพันการชำระหนี้  ( Basic concepts : Responsibility, Accountability and liability ) ประกอบด้วย
               
1.  ความรับผิดชอบ (Responsibility) เป็นลักษณะเฉพาะของบุคคล  และเป็นองค์ประกอบหลักในการกระทำในด้านจริยธรรม  ความรับผิดชอบ  การยอมรับในเรื่องค่าใช้จ่าย  หน้าที่การงาน   ความรับผิดชอบที่ต้องเกิดขึ้นจากการจัดสินใจ
               
2.  ภาระหน้าที่ (Accountability) เป็นลักษณะของระบบและสถาบันทางสังคม  ซึ่งเป็นกลไกที่เป็นตัวกำหนดว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบในการกระทำ  ระบบและสถาบันที่อยู่ในสภาพที่หาคนรับผิดชอบไม่ได้  ก็จะเป็นการยากที่จะวิเคราะห์ด้านจริยธรรม
               
3.  ภาระความรับผิดชอบ (Liability) เป็นลักษณะของระบบทางการเมือง  หมายถึงข้อกำหนดตามกฎหมายที่ให้บุคคลชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลอื่น  รวมถึงระบบ  และองค์กรด้วย
               
4.  กระบวนการในการยื่นอุทธรณ์ (Due process)  เป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องกับสังคมที่ใช้กฎหมายในการปกครอง  หมายถึงกระบวนการทางกฎหมายที่ถูกใช้จนเป็นที่รู้จัก  และเป็นขบวนการตามขั้นตอนที่ทำให้บุคคลสามารถยื่นอุทธรณ์กับเจ้าหน้าที่ระดับสูงเพื่อตรวจสอบว่าได้มีการใช้กฎหมายอย่างถูกต้อง
                แนวความคิดทั้งหมดนี้ใช้ในการสร้างกรอบ  หรือเกณฑ์ในการวิเคราะห์ระบบสารสนเทศ
[Information systems (IS) ] ทางด้านจริยธรรม  ซึ่งสามารถแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน คือ
     
1.  จะศึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศขององค์กร  สถาบัน  และบุคคล  ซึ่งเป็นตัวเผยแพร่เทคโนโลยีสารสนเทศตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้น
     
2.  จะศึกษาเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ของเทคโนโลยีของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นกับสถาบัน  องค์การ  และ  บุคคลที่ใช้เทคโนโลยี  การใช้เทคโนโลยี  ในท่าที่ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม  ซึ่งหมายถึง การที่สามารถรับผิดชอบในการกระทำ
     
3.  จะศึกษาว่าสังคม  การเมือง  บุคคล  และกลุ่มอื่น ๆ สามารถแก้ไขข้อเสียหายทางจริยธรรมที่เกิดขึ้นได้อย่างไร  โดยผ่านกระบวนการในการยื่นอุทธรณ์ได้