วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

จริยธรรมในสังคมสารสนเทศ


จริยธรรมในสังคมสารสนเทศ

จริยธรรมในสังคมสารสนเทศ (Ethics in an information society) เป็นเรื่องเกี่ยวกับทางเลือกของบุคคล  เมื่อต้องเผชิญในการปฏิบัติ  ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าอะไรเป็นทางเลือกที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
                แนวคิดพื้นฐาน
ความรับผิดชอบ  ภาระหน้าที่  และภาระผูกพันการชำระหนี้  ( Basic concepts : Responsibility, Accountability and liability ) ประกอบด้วย
               
1.  ความรับผิดชอบ (Responsibility) เป็นลักษณะเฉพาะของบุคคล  และเป็นองค์ประกอบหลักในการกระทำในด้านจริยธรรม  ความรับผิดชอบ  การยอมรับในเรื่องค่าใช้จ่าย  หน้าที่การงาน   ความรับผิดชอบที่ต้องเกิดขึ้นจากการจัดสินใจ
               
2.  ภาระหน้าที่ (Accountability) เป็นลักษณะของระบบและสถาบันทางสังคม  ซึ่งเป็นกลไกที่เป็นตัวกำหนดว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบในการกระทำ  ระบบและสถาบันที่อยู่ในสภาพที่หาคนรับผิดชอบไม่ได้  ก็จะเป็นการยากที่จะวิเคราะห์ด้านจริยธรรม
               
3.  ภาระความรับผิดชอบ (Liability) เป็นลักษณะของระบบทางการเมือง  หมายถึงข้อกำหนดตามกฎหมายที่ให้บุคคลชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลอื่น  รวมถึงระบบ  และองค์กรด้วย
               
4.  กระบวนการในการยื่นอุทธรณ์ (Due process)  เป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องกับสังคมที่ใช้กฎหมายในการปกครอง  หมายถึงกระบวนการทางกฎหมายที่ถูกใช้จนเป็นที่รู้จัก  และเป็นขบวนการตามขั้นตอนที่ทำให้บุคคลสามารถยื่นอุทธรณ์กับเจ้าหน้าที่ระดับสูงเพื่อตรวจสอบว่าได้มีการใช้กฎหมายอย่างถูกต้อง
                แนวความคิดทั้งหมดนี้ใช้ในการสร้างกรอบ  หรือเกณฑ์ในการวิเคราะห์ระบบสารสนเทศ
[Information systems (IS) ] ทางด้านจริยธรรม  ซึ่งสามารถแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน คือ
     
1.  จะศึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศขององค์กร  สถาบัน  และบุคคล  ซึ่งเป็นตัวเผยแพร่เทคโนโลยีสารสนเทศตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้น
     
2.  จะศึกษาเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ของเทคโนโลยีของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นกับสถาบัน  องค์การ  และ  บุคคลที่ใช้เทคโนโลยี  การใช้เทคโนโลยี  ในท่าที่ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม  ซึ่งหมายถึง การที่สามารถรับผิดชอบในการกระทำ
     
3.  จะศึกษาว่าสังคม  การเมือง  บุคคล  และกลุ่มอื่น ๆ สามารถแก้ไขข้อเสียหายทางจริยธรรมที่เกิดขึ้นได้อย่างไร  โดยผ่านกระบวนการในการยื่นอุทธรณ์ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น